วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วันตำรวจแห่งชาติ
13 ต.ค. วันตำรวจไทย
39,273อ่าน
0แสดงความเห็น
วันตำรวจแห่งชาติ
งานตำรวจ ตรวจตรา หาคนผิด เพื่อพิชิต คนพาล สันดานถ่อย
เพื่อมิให้ ก่อกรรม ขึ้นซ้ำรอย และเพื่อคอย คุ้มครอง ผองคนดี
กระบวนการ ยุติธรรม จะล้ำค่า ชาวประชา ยกย่อง สิ้นหมองศรี
ทุกสังคม สุขเกษม สุดเปรมปรีดิ์ ย่อมอยู่ที่ เบื้องต้น คนตรวจตรา
หากตำรวจ เป็นกลาง อย่างแท้เที่ยง ไม่ลำเอียง ด้วยใจ ใฝ่มิจฉา
ยึดสัตย์ซื่อ ถือมั่น คำสัญญา ในสัจจา ปฏิญาณ งานที่ทำ
จะอยู่ไหน ปวงชน ก็พ้นทุกข์ สงบสุข สังคม ไม่จมต่ำ
สมเพลงมาร์ช ที่ร้อง ก้องประจำ ตำรวจทำ ถูกต้อง เพื่อผองชน
หากตำรวจ อ่อนไหว ในอามิส มุ่งจะคิด หาประโยชน์ โฉดฉ้อฉล
ใช้อำนาจ ช่วยเหลือ เพื่อพวกตน ประชาชน ผิดหวัง ทั้งแผ่นดิน
วันตำรวจ เวียนมา อีกคราครั้ง ฝากความหวัง เลอเลิศ อันเฉิดฉิน
ให้ตำรวจ ใฝ่ดี ทุกชีวิน สุขสมจินต์ ทั่วหน้า สถาพร
ใครทำดี มีสุข ทุกชั้นยศ เกียรติปรากฏ ภิญโญ สโมสร
ปลอดการเมือง น้ำเน่า เข้าบั่นทอน ปลอดวงจร ต่ำทราม ข้ามหัวเอย
เพื่อมิให้ ก่อกรรม ขึ้นซ้ำรอย และเพื่อคอย คุ้มครอง ผองคนดี
กระบวนการ ยุติธรรม จะล้ำค่า ชาวประชา ยกย่อง สิ้นหมองศรี
ทุกสังคม สุขเกษม สุดเปรมปรีดิ์ ย่อมอยู่ที่ เบื้องต้น คนตรวจตรา
หากตำรวจ เป็นกลาง อย่างแท้เที่ยง ไม่ลำเอียง ด้วยใจ ใฝ่มิจฉา
ยึดสัตย์ซื่อ ถือมั่น คำสัญญา ในสัจจา ปฏิญาณ งานที่ทำ
จะอยู่ไหน ปวงชน ก็พ้นทุกข์ สงบสุข สังคม ไม่จมต่ำ
สมเพลงมาร์ช ที่ร้อง ก้องประจำ ตำรวจทำ ถูกต้อง เพื่อผองชน
หากตำรวจ อ่อนไหว ในอามิส มุ่งจะคิด หาประโยชน์ โฉดฉ้อฉล
ใช้อำนาจ ช่วยเหลือ เพื่อพวกตน ประชาชน ผิดหวัง ทั้งแผ่นดิน
วันตำรวจ เวียนมา อีกคราครั้ง ฝากความหวัง เลอเลิศ อันเฉิดฉิน
ให้ตำรวจ ใฝ่ดี ทุกชีวิน สุขสมจินต์ ทั่วหน้า สถาพร
ใครทำดี มีสุข ทุกชั้นยศ เกียรติปรากฏ ภิญโญ สโมสร
ปลอดการเมือง น้ำเน่า เข้าบั่นทอน ปลอดวงจร ต่ำทราม ข้ามหัวเอย
ด้วยศรัทธาและนับถือ
นายสำเริง เรืองฤทธิ์
นายสำเริง เรืองฤทธิ์
เป็นที่ทราบกันดีว่าอาชีพตำรวจเป็นอาชีพที่เป็นทางการ เป็นข้าราชการที่มีหน้าที่รักษากฎหมาย ดูแลความสงบสุขและความปลอดภัยแก่ประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากวันนี้ 13 ตุลาคม เป็น วันตำรวจไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการให้ความสำคัญและให้กำลังใจตำรวจดี ๆ ทั่วประเทศ เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จัก วันตำรวจ เพื่อรำลึกถึงคุณความดีของตำรวจไทยกันค่ะ
วันตำรวจไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 โดยเป็นวันประกาศรวม "กรมพลตระเวน" กับ "กรมตำรวจภูธร" เป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมตำรวจ" ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" กรมตำรวจจึงได้ยึดถือเอาวันที่ 13 ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันตำรวจ และได้มีการประกอบพิธี วันตำรวจ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2492 ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.อ.หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจและ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ประวัติ วันตำรวจ
กิจการตำรวจได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองบ้านเมืองเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุสดมภ์ ได้แก่ เวียง วัง คลัง นาและพร้อมกันนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการตำรวจขึ้น โดยให้ขึ้นอยู่กับเวียง อันมีเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี เป็นผู้บังคับบัญชา
ทั้งนี้ กิจการตำรวจในขณะนั้น แบ่งออกเป็น ตำรวจพระนครบาล ตำรวจภูธร ส่วนตำรวจหลวงให้ขึ้นอยู่กับวัง มีเจ้าพระยาธรรมาธิบดีศรีรัตนมณเฑียรบาล เป็นผู้บังคับบัญชา และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตราศักดินาของตำรวจไว้เป็นบรรทัดฐานในบทพระอัยการ ระบุตำแหน่งนายพลเรือน เช่นเดียวกับข้าราชการฝ่ายอื่น
นอกจากนี้ ยังมีเอกสารหลายชิ้นที่แสดงว่าบุคคลที่จะเป็นตำรวจได้นั้นต้องคัดเลือกจาก ผู้ที่มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาจากตระกูลที่ได้ทำคุณความดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และต้องเป็นบุคคลที่ทรงวางพระราชหฤทัย การบังคับบัญชาตำรวจก็ต้องขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะแต่พระองค์เดียว ทำให้กิจการตำรวจในยุคนี้จะจัดตั้งเพื่อให้ทำหน้าที่ในวงจำกัด และมิได้ขยายไปยังส่วนการปกครองทั่วประเทศเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้น กรมตำรวจจึงได้รับความสนใจที่จะปรับปรุงรูปแบบเพื่อให้เป็นไปตามแบบอย่าง ประเทศตะวันตก
โดยในปี พ.ศ. 2405 สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงกิจการตำรวจครั้งสำคัญ กล่าวคือ มีการจัดตั้งกองตำรวจขึ้นเป็นครั้งแรกตามแบบอย่างยุโรป เรียกว่า กองโปลิศ โดย จ้างชาวมลายูและชาวอินเดียเป็นตำรวจ เรียกว่า คอนสเตเปิล โดยให้มีหน้าที่รักษาการณ์แต่ในเขตกรุงเทพมหานครชั้นใน และขึ้นอยู่กับสังกัดกรมพระนครบาล
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงกองโปลิศ และจัดตั้งตำรวจภูธรขึ้นเป็นทหารโปลิศ ในปี พ.ศ. 2419 เพื่อให้เป็นกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยในส่วนภูมิภาค และให้สามารถปฏิบัติการทางทหารได้ด้วย โดยได้ว่าจ้างนาย G. Schau ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้วางโครงการ
ถัดมาในปี พ.ศ. 2420 กองทหารโปลิศได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นกรมกองตระเวนหัวเมือง และได้มีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธรขึ้นแทนกรมกองตระเวนหัวเมือง ในปี พ.ศ. 2440 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่ตั้งให้ พลตรี พระยาวาสุเทพ (G. Schau) เป็นเจ้ากรมตำรวจภูธร และได้มีการขยายกิจการตำรวจไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคตามลำดับ
โดยกิจการตำรวจในยุคนี้ขึ้นอยู่กับ 2 กระทรวง คือ กรมพลตระเวน หรือ ตำรวจนครบาล ขึ้นอยู่กับกระทรวงพระนครบาล ส่วนกรมตำรวจภูธรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ต่อ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวบรวมกิจการตำรวจมาเป็นกรมเดียวกัน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2458 เรียกว่า กรมตำรวจภูธรและกรมพลตระเวน และในปลายปีได้เปลี่ยนเป็นกรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาล และยกฐานะของเจ้ากรมขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2465 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงพระนครบาลเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่า กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาล จึงโอนมาขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 กรมตำรวจภูธรและกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร และกรมตำรวจนครบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมตำรวจภูธร แต่ยังคงแบ่งตำรวจออกเป็น 2 ประเภท คือ ตำรวจที่จับกุมโจรผู้ร้าย ไต่สวนทำสำนวนฟ้องศาลโปลิศสภาโดยตรง เรียกว่า ตำรวจนครบาล ส่วนตำรวจที่ทำการจับกุมผู้ร้ายได้แล้ว ส่งให้อำเภอไต่สวนทำสำนวนให้อัยการประจำจังหวัดนั้น ๆ เรียกว่า ตำรวจภูธร
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก กรมตำรวจภูธร มาเป็น กรมตำรวจ และในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2542
กิจกรรม วันตำรวจ
พิธีสวนสนาม วันตำรวจ
สำหรับการประกอบพิธี วันตำรวจ อย่างเป็นทางการครั้งแรก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ในสมัยที่ พล.ต.อ.หลวงชาติ ตระการโกศล เป็นอธิบดีกรมตำรวจ และ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2494 พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้นได้จัดงาน วันตำรวจ โดยให้มีพิธีเดินสวนสนาม และปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ.2500
หลังจากนั้นได้ระงับการจัดพิธีเดินสวนสนามที่เป็นการรวมหน่วยทุกหน่วยของ ตำรวจ และให้ประกอบพิธีทางศาสนาและกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพียงอย่างเดียว แต่ในส่วนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ และนายตำรวจปกครองของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้กระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยประจำหน่วยตำรวจ และสวนสนามภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจเนื่องใน วันตำรวจ เป็นประจำตลอดมาทุกปี
กระทั่งในปี พ.ศ.2550 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงได้จัดให้มีพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของเหล่าข้าราชการตำรวจเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ ราชมังคลากีฬาสถาน โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี และได้อัญเชิญธงชัยประจำหน่วยตำรวจซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับธงชัยเฉลิมพล ของทหาร จำนวนทั้งสิ้น 13 ธง มากระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณและสวนสนาม
วันตำรวจ 2553
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นประธานงาน วันตำรวจแห่งชาติ 2553 โดยมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่ข้าราชการตำรวจตลอดจนหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่น รวมถึงพลเมืองดีที่ช่วยเหลืองานข้าราชการตำรวจ จำนวนทั้งสิ้น 162 รางวัล
พล.ต.อ.วิเชียร กล่าวด้วยว่า วันนี้เป็นวันแห่งเกียรติยศและความภาคภูมิใจของข้าราชการตำรวจทุกนาย ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่เสียสละ อดทนและทุ่มเททั้งกำลังแรงกายและใจในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชน และประเทศชาติ นอกจากนี้ ตนยังรู้สึกปลาบปลื้มใจที่ได้แสดงความขอบคุณหน่วยงานราชการตลอดจนพลเมืองดีที่ช่วยเหลือราชการตำรวจ พร้อมกันนี้ยังฝากไปถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ไม่ได้รับรางวัลหรือการประกาศกียรติคุณในครังนี้ว่าไม่ต้องเสียใจ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาในแต่ละพื้นที่ได้ดูแลทุกข์สุขรวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่พักอยู่แล้ว ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเข้าไปดูแลโดยเร็วที่สุด
ขณะที่ พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รอง ผบช.น. รับผิดชอบงานจราจร เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 ตุลาคมนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยิ้มแย้ม เป็นมิตรกับประชาชน ไม่เน้นการจับกุมด้วยการออกใบสั่ง แต่จะกล่าวตักเตือนผู้กระทำผิดแทน และแนะนำให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่และแก้ไขรถให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หากมีผู้กระทำผิดที่ถูกออกใบสั่ง และเดินทางมาชำระค่าปรับในวันที่ 13 ต.ค.2553 พนักงานสอบสวนทุกสถานีในสังกัด บช.น.จะพิจารณาเปรียบเทียบปรับใบสั่ง ในอัตราขั้นต่ำของแต่ละข้อหาคือ อัตรา 100 บาท หรือ 400 บาท เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนเคารพกฎหมายจราจร เดินทางมาชำระค่าปรับตามกำหนด และสร้างจิตสำนึกไม่กระทำผิดกฎหมายจราจรซ้ำ ยกเว้นการชำระค่าปรับของระบบกล้องตรวจจับฝ่าสัญญาณไฟแดง ( Red Light Camera ) ที่ต้องชำระตามเกณท์เดิมคือ 500 บาท
และเนื่องในโอกาส วันตำรวจ ทางทีมงานขอเป็นกำลังให้กับนายตำรวจดี ๆ ทุกท่าน ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจอย่างสำเร็จครบถ้วน ช่วยพิทักษ์สันติราษฎร์ ดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชน รวมทั้งคุมกฎเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันต่อต้านยาเสพติดโลก
คําขวัญยาเสพติด 2558 วันต่อต้านยาเสพติด 26 มิ.ย.
476,787อ่าน
7แสดงความเห็น
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติด เนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดโลก 26 มิ.ย. ตามมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลองไปดูความเป็นมาของวันต่อต้านยาเสพติด พร้อมคําขวัญวันต่อต้านยาเสพติดกัน
ด้วยสภาพปัญหายาเสพติดที่ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนทั้งทางตรง และทางอ้อมเป็นจำนวนมาก ทำให้นานาประเทศพยายามร่วมมือกัน เพื่อหาทางหยุดยั้งปัญหายาเสพติด จนกระทั่งที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" นั่นเอง เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงความร้ายแรงของปัญหายาเสพติด
และในประเทศไทยนั้น ก็มิได้ละเลยถึงปัญหายาเสพติด เพราะรู้ว่าเรื่องนี้สร้างความเดือดร้อนแก่ตัวประชาชนเอง และครอบครัว รวมถึงประเทศชาติอีกด้วย ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีใจความว่า
"....ยาเสพติดนี่มันก่อให้เกิดความเดือดร้อนหลายอย่าง โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ทั้งราชการ ตำรวจ โดยโรงพยาบาล โดยคน เอกชนต่าง ๆ เดือดร้อนหมด และสิ้นเปลือง คนทั่วประเทศก็สิ้นเปลือง แทนที่จะมีเงินทอง มีทุนมาสร้างบ้านเมืองให้สบาย ให้เจริญ มัวแต่ต้องมาปราบปราม ยาเสพติด มัวแต่ต้องเสียเงินค่าดูแลรักษาทั้งผู้เสพยา ผู้เป็นคนเดือดร้อนอย่างนี้ก็เสียทั้งเงินและเสียทั้งชื่อเสียง....." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาดุสิตาลัย วันที่ 4 ธันวาคม 2545
เมื่อได้รู้ถึงปัญหายาเสพติดที่กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลกแล้ว วันนี้ กระปุกดอทคอม ขอพาไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของ "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" กันดีกว่า
ประวัติความเป็นมาวันยาเสพติด
ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and licit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่างวันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้มีมติให้เสนอสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ขอให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีเป็น"วันต่อต้านยาเสพติดโลก"
โดยที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อเดือนธันวาคม 2530 ซึ่งประเทศไทยหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ได้แสดงเจตนารมณ์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดเป็นประจำเสมอมา ดังนั้น เพื่อเป็นการย้ำเตือนให้ประชาชนไทยเกิดความตระหนักว่ายาเสพติดเป็นปัญหาของคนไทยทั้งชาติ ที่ทุกคนควรมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข สำนักงาน ป.ป.ส. จึงขอเชิญชวนชาวไทยทุกคนร่วมกัน "สวมเสื้อสีขาว" โดยพร้อมเพรียงกันในวันต่อต้านยาเสพติดโลก
ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหายาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งในปี 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่นที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง "คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ" ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
ต่อมา ในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่ายเดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผนและเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดหรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศไทย สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2531 เป็นต้นมา
วันต่อต้านยาเสพติดในประเทศไทย
วันต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2558
สำหรับปี 2558 นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ให้คำขวัญเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 2558 ว่า "คิดดี ทำดี ต่อต้านยาเสพติด"
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2558 ซึ่งได้คัดเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ นักกีฬา พิธีกร ศิลปิน นักแสดง จากสังกัดต่าง ๆ โดยพิจารณาคุณสมบัติในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความประพฤติ ผลงานที่อยู่ในความสนใจ การศึกษา ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่มีประวัติยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 6 คน คือ
1. ร.ต.ท. เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ซิโก้) หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักฟุตบอลชายทีมชาติไทย
2. นายวรินทร ปัญหกาญจน์ (เกรท) นักแสดง สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
3. นายมิกค์ ทองระย้า (มิกค์) นักแสดง สังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
4. นางสาวปรีชญา พงษ์ธนานิกร (ไอซ์) นักแสดง สังกัด GTH (บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด)
5. นางสาวฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (ซี) ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการไอที
6. เด็กหญิงกุลฑีรา ยอดช่าง (น้องอันดา) นักแสดงเด็กมากความสามารถ
สำหรับปี 2558 นี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้ให้คำขวัญเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติด 2558 ว่า "คิดดี ทำดี ต่อต้านยาเสพติด"
ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ได้เปิดตัวพรีเซ็นเตอร์รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ประจำปี 2558 ซึ่งได้คัดเลือกบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ นักกีฬา พิธีกร ศิลปิน นักแสดง จากสังกัดต่าง ๆ โดยพิจารณาคุณสมบัติในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความประพฤติ ผลงานที่อยู่ในความสนใจ การศึกษา ซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องไม่มีประวัติยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 6 คน คือ
1. ร.ต.ท. เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (ซิโก้) หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักฟุตบอลชายทีมชาติไทย
2. นายวรินทร ปัญหกาญจน์ (เกรท) นักแสดง สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
3. นายมิกค์ ทองระย้า (มิกค์) นักแสดง สังกัดสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
4. นางสาวปรีชญา พงษ์ธนานิกร (ไอซ์) นักแสดง สังกัด GTH (บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด)
5. นางสาวฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ (ซี) ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรรายการไอที
6. เด็กหญิงกุลฑีรา ยอดช่าง (น้องอันดา) นักแสดงเด็กมากความสามารถ
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558
21 มิถุนายน วันดำรงราชานุภาพ
พระประวัติ | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานใหญ่ และงานสำคัญอย่างยิ่งของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอย่างสูง ผลงานด้านต่าง ๆ ของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูง เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และเจ้าจอมมารดาชุ่ม ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ต้นสกุล"โรจนดิศ" เป็นเจ้าจอมมารดา ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อ วันเสาร์ที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถพระราชทานพระนาม และพระพรประกอบด้วยคาถาเป็นภาษาบาลี ซึ่งมีคำแปล ดังต่อไปนี้"สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยามผู้บิดาขอตั้งนาม กุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็ก เป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการสิ้นกาลนาน ต่อไป เทอญ" พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้นจากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาบาลี ในสำนักพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และหลวงธรรมานุวัติจำนง (จุ้ย) ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สันเป็นพระอาจารย์ และทรงศึกษาวิชาหลักรัฐประศาสนศาสตร์จากพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๗๒ ทรงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ในรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเป็นอิสริยยศสูงสุดสำหรับพระองค์ท่านตราบจนสิ้นพระชนม์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย องค์ปฐมผู้บัญชาการทหารบก อธิบดีกรมศึกษาธิการ(ตำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ) อภิรัฐมนตรี นายกราชบัณฑิตยสภา และทรงบุกเบิกงานด้านโบราณคดีไทยศึกษา โดยทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งได้รับการยกย่องว่าเป็นองค์พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทรงเป็นองค์ผู้อำนวยการก่อตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (รร.หลวงแห่งแรก) โรงเรียเทพศิรินทร์ โรงเรียนอัสสัมชัญ(รร.เอกชนแห่งแรก) โรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ องค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติประกาศ เฉลิมฉลองวันประสูติ ครบ ๑๐๐ ชันษา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ให้ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการถวายสดุดีเป็น "บุคคลสำคัญของโลก" โดยมีการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพร้อมกันในสมาชิกประเทศของยูเนสโกทั่วโลกเป็นเวลา ๑๔ วันวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้ วันที่ ๑ ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดำรงราชานุภาพ" เพื่อน้อมนำให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้ทรงมีคุณูปการต่อแผ่นดินไทยเป็นอเนกอนันต์สืบไป
---------------
|
วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ประชุม ปฏิบัติการส่งเสริมการอ่านเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 0-6 ปี
นางสาวนงเยาว์ ทับเที่ยง บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ ห้องสมุดประชาชนอำเภอกันตัง ร่วมเป็นวิทยกรในการประชุมปฏิบัติการการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 0-6 ปี ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤษภาคม 2558 ณ สถาบัน กศน.ภาคใต้ จังหวัดสงขลา โดยมีบรรณารักษ์และผู้ปฏิบัติงานห้องสุดใน 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วมประชุม ทั้งสิ้น 70 คน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)