9 ตุลาคม วันไปรษณีย์โลก ประวัติวันไปรษณีย์โลก
วันไปรษณีย์โลก 9 ตุลาคมของทุกปี
ในวันที่ 9 ตุลาคมของทุกปี จะมีกิจกรรมงานเฉลิมฉลองใน วันไปรษณีย์โลก (World Post Day) ซึ่งถือว่าเป็นวันครบรอบการก่อตั้ง องค์การไปรษณีย์สากล (UPU) โดยเริ่มก่อตั้งครั้งแรกในปี 1874 ที่เมืองสวิตส์, เบิร์น ซึ่งวันที่ 9 ตุลาคมนี้ที่ได้รับว่าเป็นวันไปรษณีย์โลก ได้มาจากการตกลงในมติที่ประชุมองค์การไปรษณียสากลของโตเกียว ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 1969 ที่นี่เรามาดูประวัติ ไปรษณีย์ในประเทศไทยของเราบ้าง
การไปรษีย์ในประเทศไทย
ในประเทศไทยของเราได้รับอิทธิพลมาจากกงสุลของประเทศอังกฤษ โดยได้เอาระบบการติดต่อสื่อสาร ทางไปรษณีย์มาใช้ในการติดต่อกันระหว่างกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์ คือ ในราวปี พ.ศ. 2410 ปลายรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น จึงจำเป็นต้องติดต่อสื่อสาร ส่งข่าวไปมากับต่างประเทศมากขึ้น จึงได้จัดการรับบรราดาจดหมายเพื่อติดต่อกับต่างประเทศ โดยใช้สถานที่ตึกยามท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาหลังกงสุงอังกฤษเปิดเป็นที่ทำการ โดยใช้ตราไปรษียากรของสหพันธรัฐมลายาและอินเดีย ซึ่งพิมพ์อักษร “B” ประทับลงบนดวงตราไปรษณียการนั้นๆ แทนคำว่า “Bangkok” และจำหน่ายจดหมายเล่านั้นไปประทับตราวันที่ที่สิงคโปร์ โดยฝากกับเรือค้าขายภายใต้ร่มธงอังกฤษ เพื่อไปยังประเทศสิงคโปร์ต่อไป (การรับ-ส่งจดหมายของกงสุลนี้ได้มีมาช้านานจนกระทั่ง พ.ศ. 2425 จึงได้เลิกไป)
สถานที่ทำการไปรษณีย์ในอดียและ บุรุษไปรษณียกับตู้ไปรษณีย์
ที่ทำการไปรษีย์ สมัยรัชกาลที่ 5 และบุรุษไปรณีย์ กับตู้ไปรษณีย์สมัยก่อน
มีหลักฐานปรากฎในจดหมายเหตุของหลวงว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2423 เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ข้าราชการสำนักในต้นรัชกาลที่ 5) ได้มีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาต่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงพระราชดำริจัดตั้งการไปรษณีย์ขึ้นในประเทศไทย
บุรุษไปรษณีย์กับการส่งจดหมายแก่ชาวบ้านในสมัยก่อน
บุรุษไปรษณีย์ใน พ.ศ. 2435 , และ บุรุษไปรษณีย์ส่งจดหมายถึงชาวบ้าน
หลังจากนั้นรัชกาลที่ 5 งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมไปรษณีย์ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคมพุทธศักราช 2426 เป็นปฐม มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตึกใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เหนือปากคลองโอ่งอ่าง และในวันเดียวกันนี้เอง (ซึ่งตรงกับวันเสาร์เดือนเก้าขึ้นค่ำหนึ่ง ปีมะแม เบญจศก 1245) ก็ได้มีประกาศเปิดการไปรษณีย์ทดลองในกรุงเทพฯโดยกำหนดให้มีบริการไปรษณีย์ภายในอาณาเขต ดังนี้คือ
1.ด้านเหนือ ถึง สามเสน
2.ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
3.ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
4.ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู
2.ด้านตะวันออก ถึง สระประทุม
3.ด้านใต้ ถึง บางคอแหลม
4.ด้านตะวันตก ถึง ตลาดพลู
การเปิดบริการไปรษณีย์ในเขตกรุงเทพฯ ครั้งนี้ ปรากฏว่า เมื่อดำเนินการมาได้เดือนเศษ ปรากฏว่ามีผู้ใช้บริการมาก ได้ยังความชื่นชม สมพระราชหฤทัยมาก ดังจะเห็นได้จากกระแสพระราชดำรัส ซึ่งทรงพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ ผู้น้อย ข้าทูลละออง ธุลีพระบาท ราชทูตอเมริกันและท่านเอเย่นต์กอมิสแซและกงสุลต่างประเทศ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา เมื่อวัน ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2426 มีความตอนหนึ่งว่า
” การไปรษณีย์ซึ่งได้เปิดใช้โดยส่งหนังสือในแขวงจังหวัดกรุงเทพฯ เสมอนั้น ก็เป็นที่แปลกใจของเราที่ไม่คิดว่าคนไทยจะใช้หนังสือกันถึงเพียงนี้ ทำให้เรามีความประสงค์ที่จะจัดการให้ได้ส่งหนังสือไปมาให้ได้ตลอดพระราชอาณาจักรสยามได้โดยเร็ว จะเป็นประโยชน์ในการค้าขายแลทางราชการมาก แล้วภายหลังเราหวังใจว่าคงจะทำตามคำเชิญของท่านผู้จัดการไปรษณีย์ใหญ่ในกรุงเยอรมนี ให้กรุงสยามเข้าจัดการส่งหนังสือไปมาได้ทั่วโลก คือเข้าในหมู่พวกการไปรษณีย์อันรวมกัน “
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น